วันอังคาร, 19 มีนาคม 2567

การเขียนโปรแกรม Python ม.6

กฏการตั้งชื่อตัวแปร และคำสงวนในไพธอน

การตั้งชื่อตัวแปรในภาษาไพธอน
  1. ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขใดๆก็ได้
  2. ห้ามเว้นช่องว่าง และห้ามใช้สัญลักษณ์พิเศษนอกเหนือจาก underscore “_” เท่านั้น
  3. ตัวอักษรของชื่อจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างอักษรตัวพิมพ์ใหญ่กับตัวพิมพ์เล็ก
  4. การตั้งชื่อมีข้อพึงระวังว่า จะต้องไม่้ซ้ำกับคำสงวน (Reserved word, Keyword)
  5. ควรจะตั้งชื่อโดยให้ชื่อนั้นมีสื่อความหมายให้เข้ากับข้อมูล สามารถอ่านและเข้าใจได้
  6. ห้ามใช้เครื่องหมายต่อไปนี้ในการตั้งชื่อตัวแปร !,@, #, $, %, ^, &, *, (, ), -, =, \, |, +, ~
  7. ตัวแปรที่มีพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กผสมกันจะมีความหมายต่างกัน กับตัวพิมพ์เล็กเพียงอย่างเดียว

camel case (คาเมลเคส) และ snake case (สเนคเคส) สไตล์การเขียนโค้ดในการตั้งชื่อตัวแปร

การเขียนโค้ดที่ดีนั้นควรเขียนให้เข้าใจง่าย และแบ่งเป็นส่วนๆเพื่อลดความซับซ้อน การเขียนโค้ดไม่มีกฏตายตัวเลย ว่าเราจะต้องใช้รูปแบบไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เขียนโค้ดยังไงให้โปรแกรมมันทำงานได้ และการเขียนโปรแกรมนั้นไม่ใช่การทำงานคนเดียว เราต้องทำงานกับคนอื่น การเขียนโค้ดแบบมี Format จะทำให้คนที่ทำงานร่วมกับเราอ่านโค้ดได้ง่ายขึ้น
Camelcase
การตั้งชื่อตัวแปรให้รูปร่างของตัวแปรมีส่วนเว้าส่วนโค้งคล้ายๆอูฐ ยกตัวอย่างเช่น เราจะสร้างตัวแปรสักตัวหนึ่งเพื่อมาเก็บเบอร์โทรศัพท์
phoneNumber –> ถ้าเราใช้รูปแบบของ Camelcase จะได้หน้าตาแบบนี้ ภาษาของโปรแกรมส่วนใหญ่ไม่ให้ตั้งชื่อตัวแปรแบบมีช่องว่าง เราเลยต้องตั้งชื่อแบบติดกัน แต่ถ้าจะเขียนแบบ phonenumber มันก็จะอ่านยาก เขาเลยคิดกันว่าให้ตัวแรกของคำเป็นตัวใหญ่ (ยกเว้นตัวแรก) รูปร่างของมันจึงออกมาเหมือนอูฐ แต่ถ้าตัวแปรนั้นเป็นชื่อของ Class จะยกเว้นให้ตัวหน้าเป็นตัวใหญ่ได้ เช่น PhoneNumber
นอกจากการตั้งชื่อแล้ว การวางปีกกาก็ไม่เหมือนกับ Snakecase

>> แบบฝึดหัด 1 <<

>> แบบฝึกหัดที่ 2 <<

>> แบบฝึกหัดที่ 3 <<

โปรแกรม thonny-3.2.3